AIS เดินหน้าปลุกพลังผู้ประกอบการไทย ทรานส์ฟอร์มสู่ “AIS Infinite SMEs” เสริมแกร่งองค์ความรู้และโซลูชันอัจฉริยะ เชื่อมต่อทุกโอกาส พาเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างไร้ขีดจำกัด คาดมีเอสเอ็มอีเข้าโครงการ 200 ราย เตรียมงบร้อยล้านบาท ทำหลักสูตรครบวงจร
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า เอไอเอสไม่ได้เพิ่งเริ่มต้น แต่เราเริ่มวางรากฐาน มาตั้งแต่วันที่ “ดิจิทัล” ยังเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย หรือกว่า 15 ปีที่ผ่านมา ภายใต้ AIS The StartUp โครงการส่งเสริมสตาร์ตอัปรุ่นใหม่ซึ่งเป็นกิจกรรมระดับชาติครั้งแรกของไทยที่จุดประกายความเคลื่อนไหวในวงการสตาร์ทตอัปจนถึงทุกวันนี้ เราภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการส่งมอบสินค้าและบริการของสตาร์ทอัพมากกว่า 100 รายออกสู่ตลาด พร้อมผลักดันผู้ประกอบการให้สามารถต่อยอดและขยายธุรกิจไปสู่ภาคส่วนใหม่ ๆ ที่ตอบรับกับแนวโน้มของโลกยุคใหม่ อาทิ การเปลี่ยนผ่านจากระบบขนส่งในเมือง (Urban Mobility) ไปสู่ระบบขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Mobility) mingelbingo
โดยในปีนี้ เอไอเอสได้วางแนวคิด 4 เสาหลักยุทธศาสตร์ ที่จะวางรากฐานดิจิทัลไทยสู่ความยั่งยืน ซึ่ง 4 เสานี้ ประกอบไปด้วย
1. Digital Infrastructure หากจะขับเคลื่อนประเทศ โครงสร้างพื้นฐานอย่างเทคโนโลยีสื่อสารและอินเทอร์เน็ตต้อง “เข้าถึงได้” และ “มีคุณภาพ” สำหรับคนทุกกลุ่มทั่วประเทศ หากประชาชนสามารถเข้าถึงเครือข่ายโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตอัจฉริยะได้อย่างเท่าเทียม ก็จะเกิดโอกาสใหม่ ๆ อย่างมหาศาล
2. Digital Talents ซึ่งคนคือหัวใจของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล เราจำเป็นต้องพัฒนา Digital Skills และ Digital Capability ให้กับคนไทย โดยเฉพาะในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น AI, Cloud, Machine Learning เพราะคนคือผู้ใช้เทคโนโลยีที่แท้จริง และจะเป็นแรงขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า
3. Digital Safety ในยุคที่ภัยไซเบอร์และอาชญากรรมบนโลกออนไลน์กลายเป็นปัญหาระดับชาติ การป้องกันไม่ใช่แค่หน้าที่ของรัฐ แต่เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วน คนไทยต้องมีภูมิคุ้มกันทางดิจิทัล มีทักษะและความรู้ในการใช้งานเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย รวมถึงมีเครื่องมือป้องกันที่เข้าถึงได้
4. Digital Green ขณะที่โลกเผชิญกับภาวะโลกรวนและผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรเกินพอดี เทคโนโลยีดิจิทัลต้องมีบทบาทในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้โซลูชันดิจิทัลเพื่อลดการใช้พลังงาน การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน หรือแม้แต่การนำดิจิทัลมาสนับสนุนการบริโภคอย่างรู้คุณค่า